สวทน. จับมือ GIZ จัดสัมมนา “Sinnovation” มุ่งพัฒนาระบบนวัตกรรมอาเซียน พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่

สวทน. เดินหน้าขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ พร้อมร่วมมือกับหน่วยงาน GIZ จากประเทศเยอรมนี จัดสัมมนาภายใต้หัวข้อ “SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations – From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative” ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2555 โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป และอาเซียนร่วมอภิปรายในประเด็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรมระหว่างภูมิภาค เสริมความพร้อมประเทศอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558

กรุงเทพ 13 กรกฎาคม 2555—สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยการสนับสนุนของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations – From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative” โดยการประชุมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศเยอรมนี ของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology – ASEAN COST) และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเพื่อดำเนินงานผลักดันสาขาความร่วมมือตามข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) 8 ด้าน (thematic track) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอาเซียนด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ 1) นวัตกรรมอาเซียนสู่ตลาดโลก (ASEAN Innovation for Global Market) 2) สังคมดิจิทัล สื่อใหม่และเครือข่ายสังคม (Digital Economy, New Media and Social Networking) 3) เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) 4) ความมั่นคงทางอาหาร ( Food Security) 5) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) 6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Management) 7) ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ (Biodiversity for Health and Wealth) 8) วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Science and Innovation for Life)

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. เปิดเผยว่า “การก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากจะเปิดโอกาสด้านการค้าและการลงทุนสู่ตลาดอาเซียนซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน”

ข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) ริเริ่มและจัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อ

รองรับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 เป็นแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

“ขณะนี้ สวทน.กำลังดำเนินการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาด้าน วทน.ของภูมิภาคอาเซียนคือการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมดีมีคุณภาพ และต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมดุล ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศอาเซียนยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพด้าน วทน.ดังกล่าว ดังนั้นความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน วทน.ระดับโลก จะเป็นโอกาสให้ประเทศอาเซียนได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศของตนต่อไป” เลขาธิการ สวทน. กล่าว

ดร. โยอาคิม ลังบายน์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส แผนกพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำกรุงบอนน์ กล่าวว่า “การจัดการสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศเยอรมนีและประชาคมอาเซียนเพื่อสร้างความร่วมมือและการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้าน วทน. โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักเลขาธิการอาเซียน”

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 ท่าน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน จากประเทศเยอรมนีและประเทศประชาคมอาเซียน กว่า 10 ประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งสองภูมิภาคได้มีโอกาสสร้างเครือข่าย และร่วมอภิปรายถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมในการเสริมความเข้มแข็งให้ระบบนวัตกรรม

“การออกแบบและจัดทำระบบนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นจะต้องจัดทำทั้งระบบ โดยเริ่มผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา และจำเป็นที่นักจัดทำนโยบายต้องเรียนรู้จากรูปแบบระบบนวัตกรรมที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในโลกนี้ ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานนวัตกรรมในประเทศนั้น ๆ ได้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักวิจัยนโยบายได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองของตนได้อย่างเต็มที่” ดร. โยอาคิม กล่าวเสริม

———————————————–

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

สลิลทิพย์ ทิพยางค์ นักวิจัยนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โทรศัพท์ 02 160 5432 ต่อ 904 หรือ 085 364 8840 อีเมล์ salinthip@sti.or.th

ศิริพร ภาวิขัมภ์ ผู้จัดการประสานงานโครงการ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 13 อีเมล์ siriporn.parvikam@giz.de

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ปี 2558 : ผลด้านบวกและด้านลบต่อธุรกิจท่องเที่ยว

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดหรือฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเสรี (Free Flow) ใน 5 สาขา ได้แก่ (1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า คือ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้า (2) การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในสาขาบริการที่สำคัญ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศที่เป็น สมาชิกได้อย่างเสรีมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการจากประเทศที่เป็นสมาชิกก็จะสามารถเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทยได้อย่างเสรีเช่นกัน ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการที่เกี่ยวเนื่อง (3) การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกัน โดยมี การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีเหมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน ผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกสามารถดำเนินกระบวนการผลิตในประเทศใดก็ได้ (4) การเปิดเสรีด้านเงินทุน เคลื่อนย้าย และ (5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ

ภายใต้กรอบ AEC การเปิดเสรีด้านบริการ ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกนักท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหารและสถานบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เป็นต้น จัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมด และขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ดี การเปิดเสรีบริการด้านท่องเที่ยว ทำให้หลายประเทศในอาเซียนต่างตื่นตัวและเร่งปรับกลยุทธ์ โดยเฉพาะการวางแผนนโยบายท่องเที่ยว ระดับประเทศ อาทิ รัฐบาลสิงคโปร์ทุ่มงบประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์รายได้จากภาคท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 200 หรือ 30 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2558 รวมไปถึงบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนของไทย ที่เพิ่งเปิดประเทศไม่นาน ได้แก่ ลาว กัมพูชา และพม่า ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนานาประเทศ และรัฐบาลของประเทศเหล่านี้กำลังเร่งพัฒนาบริการขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามาจากต่างประเทศ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตลาดอาเซียน : สร้างรายได้ท่องเที่ยวให้ไทยปีละ 1.3 แสนล้านบาท

สำหรับประเทศไทยนั้น ภาครัฐโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายเร่งพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของ ผู้ปฏิบัติงาน และอยู่ระหว่างการผลักดัน ให้มีสภาวิชาชีพของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่าง มาก โดยในปี 2553 รายได้ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมี มูลค่า 5.931 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ที่มีมูลค่า 10,1052 พันล้านบาท และในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2554) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.5 จาก จำนวน 14.46 ล้านคนในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 19.10 ล้านคนในปี 2554 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากตลาดอาเซียน ขยายตัวอย่างรวดเร็วเฉลี่ยร้อยละ 9.3 ต่อปีในช่วงปี 2543-2554 จากที่มีจำนวนเพียง 1.94 ล้านคนในปี 2542 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 22.6 ของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมของไทย ที่มีจำนวน 8.58 ล้านคนในปีเดียวกัน เพิ่มขึ้นเป็น 5.53 ล้านคนในปี 2554 และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.0 ในปี 2554

นอกจากจะเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว ตลาดนักท่องเที่ยวอาเซียนยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าตัว จากที่มีมูลค่าเพียง 32,381 ล้านบาทในปี 2542 เพิ่มขึ้นเป็น 97,537 ล้านบาทในปี 2553 และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2554 รายได้จากนักท่องเที่ยวอาเซียนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 22 จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าประมาณ 119,000 ล้านบาท ทำให้รายได้ท่องเที่ยวจากตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.5 ต่อปีในช่วงปี 2543-2554

สำหรับในปี 2555 ช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.69 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามามากอันดับหนึ่ง คือ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 53.3 (ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวจากประเทศในอาเซียนร้อยละ 24.2 นักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกร้อยละ 24.4 และนักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ร้อยละ 4.7) รองลงมา คือ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 33.9 ภูมิภาคอเมริการ้อยละ 5.3 ภูมิภาคโอเชียเนียร้อยละ 4.2 ภูมิภาคตะวันออกกลางร้อยละ 2.5 และภูมิภาคแอฟริการ้อย ละ 0.8 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณานักท่องเที่ยวในตลาดอาเซียน พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้ง สิ้นประมาณ 1.38 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตลาดที่มีขนาดใหญ่ 3 อันดับแรกในกลุ่มอาเซียน คือ มาเลเซีย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวน 5.8 แสนคน รองลงมา คือ ลาว มีจำนวน 2.4 แสนคน และสิงคโปร์ มีจำนวน 1.7 แสนคน ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าแล้ว พบว่า ตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว 3 อันดับแรก คือ เวียดนาม ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 รองลงมา คือ ลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และพม่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า โดยรวมตลอดทั้งปี 2555 จะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้ง สิ้น ประมาณ 6.0 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 130,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2

แนวทางการเตรียมความพร้อมรับ … การเปิดเสรีภาคการท่องเที่ยวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเปิดเสรีการบริการด้านท่องเที่ยวนั้น มีผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวของไทย จะต้องเตรียมวางแผนทางธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจาก AEC

การเปิดเสรีบริการด้านการท่องเที่ยว จะเป็นการเปิดในลักษณะของการเคลื่อนย้ายการลงทุน ซึ่งตามข้อตกลงใน AEC Blueprint คือ ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้านต่างๆลง และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติอาเซียน โดยสามารถถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 ซึ่งภายใต้กรอบ AEC ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องถูกจัดให้อยู่ในสาขาเร่งรัดการรวม กลุ่ม (Priority Integration Sectors : PIS) เช่นเดียวกับภาคบริการอื่นๆ อีก 4 สาขา ได้แก่ คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม บริการสุขภาพ การขนส่งทางอากาศ และโลจิสติกส์ ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดทั้งหมด รวมทั้งทยอยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 70 ในปี 2553 แต่ในปัจจุบันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น การกำหนดมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของแต่ละ ประเทศในอาเซียน อาทิ พนักงานทำความสะอาด ผู้จัดการแผนกต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อท้ายที่สุดจะสามารถผลักดันให้มีการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการที่ ได้รับการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ (Mutual Recognition Agreements: MRA) ภายในภูมิภาคได้อย่างเสรี
สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสัญชาติอาเซียน ตามแผนงานใน AEC Blueprint
(สาขาธุรกิจท่องเที่ยว)


แม้ว่าตามแผนงาน AEC Blueprint ประเทศไทยควรจะอนุญาตให้นักลงทุนชาติอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 แต่ปัจจุบันในปี 2555 ประเทศไทยยังคงอนุญาตให้ถือหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 เนื่องมาจากกฎหมายภายในประเทศอยู่ระหว่างการพัฒนาและการพิจารณาของรัฐสภา3

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดเสรีบริการด้านท่องเที่ยว ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของไทยในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องโดยสังเขป ดังนี้

ธุรกิจโรงแรม
การเปิดเสรีในส่วนของธุรกิจโรงแรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน มีประเด็นสำคัญในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติ ที่ยังมิได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็น ร้อยละ 70 ในปี 2558 ในสาขาธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยปัจจุบัน ประเทศสมาชิกตกลงในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ดังนี้ ประเทศมาเลเซียอนุญาตให้ชาวต่างชาติร่วมทุนกับนักธุรกิจมาเลเซียและถือหุ้น ได้ไม่เกินร้อยละ 51 (เฉพาะโรงแรม ระดับ 4-5 ดาว) ส่วนประเทศสิงคโปร์ไม่มีข้อจำกัดใดๆ สำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติในธุรกิจโรงแรม ขณะที่ประเทศไทยเองก็กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติให้ถือได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 (กรณีที่เป็นบริษัทจำกัด)

ปัจจุบันนักลงทุนไทยสามารถเข้าไปตั้งธุรกิจท่องเที่ยวและบริการโดยเป็น เจ้าของ 100% หรือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศเวียดนามได้ แต่มี เงื่อนไขว่านักลงทุนต้องดำเนินการสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู แล้วจึงจะได้กรรมสิทธิ์หลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐของแต่ละประเทศก็มีแผนงานดำเนินการเพื่อผลักดันให้นักลงทุนต่างชาติ สามารถถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 ตามเป้าหมายของประเทศอาเซียนในการเปิดเสรีการบริการด้านท่องเที่ยว

สำหรับผลของการเปิดเสรีในส่วนธุรกิจโรงแรมที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมของไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจโรงแรม ในประเทศไทยมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในทุกระดับราคาและทุกกลุ่มลูกค้า ซึ่งแม้แต่ผู้เล่นรายใหญ่ที่จะเน้นการพัฒนาโรงแรมระดับบนเองยังได้ลงมาทำ ตลาดโรงแรมระดับกลางเพื่อให้ครอบคลุมทุกตลาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังได้จับมือกับเชนโรงแรมต่างประเทศ เพื่อขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจโรงแรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทยอยู่ค่อนข้าง มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมขนาดเล็กที่มีพนักงานประมาณ 10-15 คน4

ดังนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงของการแข่งขันด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะกลุ่ม เชนบริหารโรงแรมชั้นนำจากต่างประเทศ (ที่มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและบุคลากร รวมทั้งความได้เปรียบด้านการตลาด) มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนและขยายเครือข่ายการบริหารโรงแรม เข้ามาในตลาดระดับกลางเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมระดับกลางลงมาของไทย ซึ่งเสียเปรียบด้านการตลาด และส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน จะประสบปัญหาอัตราการเข้าพักลดลง และนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาห้องพักมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องได้ในที่สุด เปิดโอกาสให้คู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติสามารถดำเนินการซื้อหรือควบรวม กิจการได้ง่ายขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่บริหารกิจการเอง ต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปิดเสรีฯ โดยมีแนวทางดังนี้

(1) วิเคราะห์ศักยภาพของกิจการ เพื่อชูความได้เปรียบหรือจุดแข็งของกิจการ เป็นจุดขายที่แตกต่างและโดดเด่น อาทิ คุณภาพการให้บริการของคน ไทยที่โดดเด่นในด้านการมีจิตใจในการให้บริการ ความได้เปรียบด้านราคาที่มีความคุ้มค่าการบริการ ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีให้ เลือกอย่างหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

(2) วางตำแหน่งของกิจการที่เหมาะสม และกำหนดตลาดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า จะเน้นให้บริการลูกค้าในตลาดนักท่องเที่ยวทั่วไปซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมักเป็นนักท่องเที่ยวที่เพิ่งเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเป็นครั้งแรก หรือนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม (อาทิ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มประชุมสัมมนา กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กลุ่มคู่ ฮันนีมูน กลุ่มจัดงานแต่งงาน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มพำนักท่องเที่ยวระยะยาว กลุ่มทัวร์กอล์ฟ กลุ่มทัวร์ดำน้ำ เป็นต้น) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กแต่มีกำลังซื้อสูงส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยว กลุ่มเที่ยวซ้ำ (คือ เคยเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยแล้ว) และปรับแผนการบริการและแผนการตลาดให้สอดคล้องกับตลาดเป้าหมาย และการปรับเปลี่ยนของตลาด เช่นในปัจจุบันที่ตลาดยุโรปกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ และนิยมเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บรรดาผู้ประกอบการควรหันไปขยายตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้ในภูมิภาคเอเชีย ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง

(3) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาสากลและภาษาในกลุ่มอาเซียน อาทิ มาเลย์ พม่า ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนาทักษะด้านภาษา อาจจะพิจารณานำแนวคิดของการรับสมัครอาสาสมัครที่มีความสามารถด้านภาษามาปรับ ใช้ แต่ต้องมีการฝึกอบรมทักษะด้านบริการให้กับกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ก่อน

(4) การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศน่าจะช่วยให้ ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มทางเลือกให้กับ ลูกค้าได้มากขึ้น เช่น นำเสนอแพ็กเกจห้องพักราคาเดียวแต่สามารถเลือกที่พักได้หลายแห่งในต่างทำเล ที่ตั้ง (อาทิ ชายทะเล เกาะ ภูเขา ป่า )แต่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรติดตามข้อมูลข่าวสาร ช่องทางการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการปรับตัว เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขัน อย่างยั่งยืน เพราะการเปิดเสรียังคงจะดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็น ASEAN +3 หรือ ASEAN+ 6

ธุรกิจนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว เป็นธุรกิจที่ให้การบริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว อาทิ การให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเพื่อประกอบการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว การวางแผนการเดินทาง การบริการด้านที่พัก และจัดแพ็กเกจท่องเที่ยว เป็นต้น
ธุรกิจนำเที่ยวแบ่งออกตามลักษณะของการจัดบริการท่องเที่ยว ได้แก่
(1) ธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ ( Domestic Tour Operator) คือ การจัดนำนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ภายในประเทศ
(2) ธุรกิจนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ (Inbound Tour Operator)
(3) ธุรกิจนำนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างประเทศ (Outbound Tour Operator)

สำหรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในหมวดการนำเที่ยว ในปัจจุบันประเด็นของสัดส่วนการถือหุ้นของชาติสมาคมอาเซียนยังมีข้อจำกัด และเงื่อนไขบางประการ ได้แก่ ประเทศมาเลเซียอนุญาตให้ชาวต่างชาติร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวมาเลเซียก่อตั้ง บริษัทนำเที่ยว โดยสามารถถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 51 ขณะที่ประเทศไทย กำหนดให้คณะผู้บริหารครึ่งหนึ่งต้องเป็นคนไทย ส่วนประเทศสิงคโปร์และเวียดนามไม่มีข้อกำหนดใดๆ สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการประกอบธุรกิจนี้

ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวในไทยมีจำนวนค่อนข้างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะแหล่งท่อง เที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 จากสำนักงานทะเบียนและธุรกิจนำเที่ยว พบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยมากถึง 10,507 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบขนาดเล็ก ส่วนจำนวนมัคคุเทศก์ชาวไทยมีกว่า 58,324 ราย ซึ่งร้อยละ 65 สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ปัจจุบันอาชีพมัคคุเทศก์ชาวไทยยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพอิสระ จึงค่อนข้างเป็นอุปสรรคในการพัฒนาธุรกิจนำเที่ยวของไทยให้มีความ พร้อมต่อการเปิดเสรีได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวราย ใหญ่จากต่างประเทศสามารถเข้ามาลงทุนเปิดสาขาบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยได้ มากขึ้น แม้จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้บริหารและอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่สงวนไม่ อนุญาตให้คนต่างด้าวก็ตาม ซึ่งผู้ประกอบการจากต่างประเทศเหล่านี้อาจจะกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ บริษัทนำเที่ยวในไทย เนื่องจากบริษัทนำเที่ยวต่างชาติจะมีจุดเด่น คือ มีฐานลูกค้าในประเทศของตน และจากการที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้อำนาจต่อรองในเรื่องของราคามีค่อนข้างสูง ซึ่งก็อาจมีผลกระทบต่อบริษัทนำเที่ยวของคนไทยได้เช่นกัน

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลต่อธุรกิจของตนด้วยเช่นกัน อาทิ

(1) ส่งเสริมการนำเที่ยวเฉพาะด้าน หรือเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแก่ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศใน กลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ปัจจุบันนิยมเดินทางเข้ามารับบริการด้านการแพทย์ในประเทศไทยอยู่แล้ว หรือลูกค้ากลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงินจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติด กับไทย ทำให้สะดวกในการเดินทาง อาทิ นักท่องเที่ยวในตลาดระดับบนของพม่าซึ่งปัจจุบันนิยมเดินทางมาเที่ยวกรุงเทพฯ และรายการนำเที่ยวที่ได้รับความนิยม คือ ไหว้พระในวัดพระแก้ว ชมพระบรมมหาราชวัง จับจ่ายซื้อสินค้าในศูนย์การค้าชั้นนำย่านราชประสงค์ และเที่ยวชายทะเลแถบพัทยา ขณะที่นักท่องเที่ยวในตลาดระดับกลางที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งลาวและพม่า จะนิยมเดินทางข้ามพรมแดนมาท่องเที่ยวพักผ่อน และจับจ่ายซื้อสินค้า รวมทั้งเข้ามารับบริการด้านการแพทย์ในประเทศไทย ตามเมืองท่องเที่ยวหลักใกล้พรมแดน เช่น อุดรธานี ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ และแม่สอด เป็นต้น

(2) สร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกันและกลุ่มธุรกิจอื่นที่ เกี่ยวข้อง เช่น หากมุ่งเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็ควรจะเป็น พันธมิตรกับหลากหลายโรงพยาบาล หรือธุรกิจบริการรถเช่า เพื่อบริการรับ-ส่งลูกค้าจากสนามบินไปโรงพยาบาล หรือไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

(3) ส่งเสริมการตลาดผ่าน Social Media Marketing ที่น่าจะเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เพราะสามารถลดต้นทุนการทำประชา สัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดี การใช้สื่อออนไลน์ก็มีข้อพึงระวังเพราะหากลูกค้าเกิดความไม่พอใจการให้ บริการก็อาจจะใช้โลกออนไลน์นี้ในการแสดงความคิดเห็นได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น การรักษาคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานสากลเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพึง ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาและให้ข้อมูลล่าสุดผ่านทางเว็บไชต์ผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อและสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง

ผลกระทบทางอ้อมต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว…หลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเปิดเสรีอาเซียน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่จะต้อง ปรับตัวเท่านั้น แต่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังส่งผลในด้านบวกช่วยเกื้อหนุนต่อ ธุรกิจท่องเที่ยวเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คงจะต้องศึกษาข้อมูล AEC ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก AEC ซึ่งนอกเหนือจากผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว AEC ยังมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในทางอ้อม ได้แก่ ธุรกิจไมซ์ (Meeting, Incentive, Convention and Exhibition: MICE)

โอกาสของธุรกิจ MICE
เมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมไมซ์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ไทยมีกิจกรรมไมซ์เป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ส่วนตลาดไมซ์ของมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากว่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีความได้เปรียบด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ขณะที่เวียดนามก็พยายามหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน โดยล่าสุดได้มีการลงนามในกรอบความร่วมมือระหว่างไทยและเวียดนามในด้านการแลก เปลี่ยนข้อมูล และจัดกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมไมซ์ระหว่างกัน (Cross promotion) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ให้ข้อมูลการเติบโตของกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยและเวียดนามว่า มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15- 20 ต่อปี

ปัจจุบัน ไทยมีศูนย์การประชุมและศูนย์จัดแสดงสินค้าในระดับนานาชาติที่เปิดให้บริการ รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติกรุงเทพ มหานคร (BITEC) 2) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) และ 3) IMPACT Convention Center

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การประชุมนานาชาติที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 2555 คือ ศูนย์การประชุมนานาชาติที่เชียงใหม่ ขณะที่มีการขยายบริการในด้านการจัดประชุมสัมมนา ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ของบรรดาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเพิ่มความร่วมมือด้านกิจกรรมไมซ์กับ ประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมอาเซียน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ากิจกรรมไมซ์จากฝั่งยุโรปและอเมริกาให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานสากล และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นทักษะในด้านภาษาให้มีความหลากหลาย และเข้าร่วมการทำ Road Show กับภาครัฐเพื่อกระตุ้นการรับรู้จากนานาประเทศ

บทสรุป



ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทย ทั้งนี้ด้วยความโดดเด่นของคุณภาพการให้บริการซึ่งเป็นที่ยอมรับและน่าประทับ ใจ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนค่าครองชีพที่อยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งหลายประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณที่ประเทศไทย นับเป็นความได้เปรียบด้านการแข่งขันในธุรกิจนี้ของผู้ประกอบการไทย

อย่างไรก็ตาม คงยากจะหลีกเลี่ยงการรวมกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีการเปิดเสรีภาคบริการขึ้นในปี 2553 ซึ่งจะนำไปสู่ทั้งผลบวกและผลลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ของไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการเองคงต้องปรับมุมมองนี้ ให้เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ และการเร่งพัฒนาศักยภาพ ด้านการบริหาร ทักษะการให้บริการ ทักษะด้านภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิก) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหลังการเปิดเสรีแบบเต็มรูปแบบ กล่าวคือ การรวมกลุ่มจะช่วยขยายฐานลูกค้าจากจำนวนประชากรในประเทศไทยที่มีจำนวน 65 ล้านคน เป็นประชากรอาเซียนจำนวนกว่า 600 ล้านคน ฉะนั้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อ การปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

สำหรับการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวรองรับ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรเริ่มจาก (1) วิเคราะห์จุดแข็งและเสริมจุดแข็งด้านต่างๆ อาทิ คุณภาพการให้บริการศักยภาพด้านบุคลากร เป็นต้น (2) นอกจากการวิเคราะห์จุดแข็งแล้ว ยังมีจุดอ่อนที่ควรพยายามพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การทำ การประชาสัมพันธ์ หรือทักษะด้านภาษาของบุคลากร และ (3) การรวมกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาทักษะของ บุคลากรให้มีคุณภาพการให้บริการได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านเงินทุนและแรงงานก็น่าจะมองหาโอกาสเข้าไป ลงทุนในประเทศสมาชิกเพื่อขยายกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในธุรกิจโรงแรมหรือการขยายการบริการโรงแรมเข้าไป ในพม่า ที่เพิ่งเปิดประเทศและได้รับความสนใจจากนานาประเทศ

ขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่อง เที่ยวทั้งในและนอกกลุ่มอาเซียนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการควรจะมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ ซึ่งกระแสกำลังมาแรงในหมู่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิจกรรมไมซ์ (MICE) และกิจกรรมด้านกีฬา (Sport Event) ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำวิจัยถึงความ เป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเที่ยวแต่ละรูปแบบ และการส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยรวมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการของไทยมี ความพร้อมต่อการแข่งขันอย่างเสรี และมีศักยภาพในการขยายตลาดไปยังประเทศสมาชิกภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน รวมถึงการเปิดเสรีอื่นๆในอนาคต

—————————————————————————-
1 ที่มา : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 ที่มา : กรมเจรจาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
4 ที่มา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปกับผลกระทบต่อ SMEs ไทย

สรุปพัฒนาการของวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป
อาจสามารถกล่าวได้ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปมีจุดเริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณต้นไตรมาสที่ 2/2553 (ดังนั้นวิกฤตก็กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว) จากปัญหาภาคการคลังที่ย่ำแย่ในกรีซ ซึ่งภายหลังได้ลุกลามออกไปยังไอร์แลนด์ และโปรตุเกส พร้อมๆ กับฉุดรั้งประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างใหญ่ อาทิ อิตาลี สเปน และ ฝรั่งเศส เข้าสู่วังวนเป็นระยะๆ แม้ว่าในส่วนของสมาชิกแกนหลัก 3 รายหลังนี้ จะยังไม่ตกอยู่ในสถานะที่เปราะบางจนต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก สหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (EU/IMF) แต่ก็ไม่สามารถหลีกพ้นกระแสการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งเกิดขึ้นหลายระลอกต่อเนื่องจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง ประเทศ เช่น สแตนดาร์ด แอนด์ พัวส์ (Standard and Poor’s: S&P) ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (Moody’s)

ขณะที่ วิกฤตหนี้ในยุโรปพัฒนาไปอยู่ในจุดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบการเงินของยูโร โซนมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ในอีกด้านหนึ่งความไม่เชื่อมั่นของตลาดการเงินและนักลงทุนที่ถดถอยลง ได้สร้างแรงกดดันกลับไปที่เจ้าหน้าที่ทางการและธนาคารกลางยุโรปให้เร่งหา มาตรการสกัดการลุกลาม และแก้ไข-เยียวยาวิกฤต โดยเครื่องมือในการจัดการวิกฤตที่ประเทศสมาชิกยูโรโซนผลักดันออกมานั้น มีทั้งในส่วนที่ดำเนินการผ่านการกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน และปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเติมสภาพคล่องวงเงินเกินกว่า 1 ล้านล้านยูโรเข้าสู่ระบบสถาบันการเงิน รวมถึงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหาทางด้าน การคลัง (ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาลกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และอิตาลี) ผ่านการดำเนินการของธนาคารกลางยุโรป

ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ได้ไถลลงไปอย่างรุนแรงอีกครั้ง หลังจากที่กรีซสามารถปรับลดหนี้ลงบาง ส่วนผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ภาคเอกชน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่เปิดทางให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรจาก EU/IMF ขณะที่ ทางการยุโรปก็ได้เตรียมทรัพยากรทางการเงิน และปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อดูแลวินัยทางการคลังของประเทศสมาชิกยูโรโซนใน ระยะข้างหน้า แต่ถึงกระนั้น ด้วยความที่วิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อมโยงหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งสถานะการคลังของรัฐบาล ภาคเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน รวมไปถึงตลาดการเงินทั่วโลก ดังนั้น การยุติวิกฤตที่วนเป็นวังวนในภาคส่วนเหล่านี้ จึงไม่สามารถทำได้โดยง่าย และปัญหาหนี้สาธารณะก็ยังน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะฉุดรั้งแนวโน้ม เศรษฐกิจของยูโรโซนให้อยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพต่อเนื่องไปในช่วงหลายปี ข้างหน้า แม้ว่าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดของวิกฤต อาทิ การแยกออกจากกัน และ/หรือการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศสมาชิกยูโรโซน จะสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตาม

  ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปกับผลกระทบต่อ SMEs ไทย
วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปีที่ผ่านมาจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งกระทบต่อการบริโภคทั้งภาคครัวเรือนและภาคการผลิตในตลาดโลกนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศในอาเซียนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 71.3 ขณะที่สิงคโปร์พึ่งพาการส่งออกมากที่สุดร้อยละ 211.1 ส่วนมาเลเซีย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา ฟิลิปปินส์ สปป.ลาว และอินโดนีเซีย มีสัดส่วนการพึ่งพาการส่งออกร้อยละ 97.2 ร้อยละ 77.4 ร้อยละ 67.7 ร้อยละ 59.6 ร้อยละ 36.4 ร้อยละ 35.7 และร้อยละ 24.61 ตามลำดับ

♦ จากวิกฤติในครั้งนี้ แต่ละประเทศประสบภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่แตกต่างกันไป…มาตรการ รัดเข็มขัดทางการคลังของประเทศในยุโรปและประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธาณะในยุโรปนั้น ย่อมส่งผลต่อการทิศทางการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศดังกล่าว รวมไปถึงการตัดสินใจทางธุรกิจที่รัดกุมหรือชะลอการขยายธุรกิจและการลงทุน ต่างๆ ในระยะนี้ตามมาได้ ซึ่งแน่นอนว่าประเทศผู้ส่งออกในอาเซียนที่เกี่ยวโยงกับประเทศในตลาดหลักดัง กล่าวย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย อย่างไรก็ดี แต่ละประเทศจะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวแตกต่างกันไปทั้งในทางตรงและทาง อ้อม ตามสัดส่วนในการพึ่งพาภาคการส่งออก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและตลาดที่เป็นคู่ค้าหลักกับยุโรปและสหรัฐฯ เช่น จีน โดยประเทศที่ตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่อย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัวจะลดระดับความรุนแรงลงไป รวมทั้งมาเลเซีย ซึ่งส่งออกไปยังตลาดยุโรปในสัดส่วนไม่มากนักเพียงร้อยละ 10 เพราะเริ่มขยายการค้าในตลาดเกิดใหม่ ตลาดประเทศกำลังพัฒนา และตลาดเอเชียมากขึ้น ทำให้ผลกระทบจากวิกฤติในยุโรปต่อมาเลเซียจึงไม่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง รุนแรงมากนัก ในขณะที่ประเทศที่มีสหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกหลักอย่างกลุ่ม CLMV มี แนวโน้มว่าภาคการส่งออกอาจชะลอตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ สำหรับสิงคโปร์ แม้ว่าการส่งออกทั้งปีที่ผ่านมายังคงขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 8 โดยการส่งออกสินค้าและบริการเติบโต ร้อยละ 7.5 และ4.8 ตามลำดับ แต่คงต้องเผชิญกับภาวะการส่งออกไปยังยุโรปที่ค่อนข้างผันผวนต่อไป โดยล่าสุดในเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา การส่งออกไปตลาดยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของสิงคโปร์ก็ลดลงร้อยละ 14.5 ซึ่งสวนทางกับภาวะการส่งออกไปยังยุโรปในเดือนธันวาคม 2554 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 122

                         ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในภาพรวมของการค้าของประเทศในอาเซียนแล้ว จะพบว่าตลาดส่งออกหลักของอาเซียน ก็คือ ประเทศอาเซียนด้วยกันเอง มีสัดส่วนถึงร้อยละ 25.2 (ปี 2553) รองลงมาเป็นตลาดจีน สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น สัดส่วนร้อยละ 13.2, 11.2, 10.1 และ 9.7 ตามลำดับ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า นับจากนี้บทบาทการค้าระหว่างกันและกันของประเทศสมาชิกอาเซียนน่าจะยิ่งทวี บทบาทเพิ่มมากขึ้นท่ามกลางปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยังวุ่นวาย ขณะเดียวกันแต่ละประเทศในอาเซียนก็น่าจะหันมาส่งเสริมการขยายตัวของตลาดใน ประเทศ ควบคู่ไปกับการขยายตลาดส่งออกให้หลากหลายมากขึ้น โดยตลาดเกิดใหม่และตลาดอาเซียนด้วยกันจะเป็นตลาดที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น ต่อไป ทั้งนี้ การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่นๆ อาจชะลอตัวลงอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะตลาดที่ยังเชื่อมโยงกับการนำเข้าสินค้าและบริการของยุโรปและสหรัฐฯ เป็นหลัก ในขณะที่การบริหารจัดการและ กำกับดูแลตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศในอาเซียน จะดำเนินไปอย่างรัดกุมต่อไป เพื่อป้องกันผลกระทบจากวิกฤติที่อาจส่งผลให้เกิดการไหลเข้า-ออกของเงินทุน อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงิน ตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรเกิดการผันผวนได้ง่าย รวมทั้งอาจส่งผลต่อสภาพคล่อง (Liquidity) ทางการเงินของสถาบันการเงินในภูมิภาคได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาอย่างใกล้ชิดต่อไป

ภาคการส่งออกของไทยโดยรวมยังขยายตัวได้ แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง… โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 17.2 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 228,825.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการส่งออกในตลาดหลักเป็นรายประเทศและกลุ่มประเทศแล้ว พบว่ายังเป็นการขยายตัวในอัตราที่ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2553 และมีบางกลุ่มสินค้าที่หดตัวลง โดยการส่งออกไปยังตลาดหลัก 15 อันดับแรก พบว่าส่วนใหญ่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลัก โดยที่ตลาดอาเซียน (9 ประเทศ) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทยในสัดส่วนร้อยละ 23.7 ของการส่งออกทั้งหมด ยังคงขยายตัวมากที่สุดในอัตราร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับตลาดหลักอื่นๆ อย่างญี่ปุ่น (ร้อยละ 17.9) สหรัฐฯ (ร้อยละ 8.2) และสหภาพยุโรป (ร้อยละ 10.7) โดยตลาดหลักในอาเซียน คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

♦ วิกฤติส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทยในระดับที่ไม่สูงนัก เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของ SMEs ไทยจะเป็นตลาดหลักอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตลาดยุโรป… ตลาดส่งออกหลัก 5 อันดับแรกในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน สหรัฐฯ และ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะมีสวิตเซอร์แลนด์เพียงประเทศเดียวที่อยู่ในกลุ่มยุโรป ในขณะที่มูลค่า ส่งออกไปยังตลาดอาเซียนในปี 2554 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีมากถึงร้อยละ 30.2 หรือประมาณ 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดของ SMEs นอกจากนี้ทิศทางการส่งออกของ SMEs ในปีที่ผ่านมาก็ยังคงเติบโตได้ในแดนบวกต่อเนื่องจากปี 2553 หลังจากที่ชะลอตัวค่อนข้างมากในปี 2552 โดยมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้นในช่วง 11 เดือนแรกปี 2554 คิดเป็น 62,149.3 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ3 มากกว่ามูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันของปี 2553 ซึ่งมีมูลค่า 50,571 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ4 และคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 22.9 ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2555 การส่งออกของ SMEs จะยังขยายตัวได้ในทิศทางบวก เนื่องจากตลาดอาเซียนยังขยายตัวได้และตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ ก็เริ่มมีสัญญาณบวกของการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้เห็นบ้างแล้ว

                         ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สินค้าส่งออกหลักของไทยโดยรวมและสินค้าส่งออกหลักของ SMEs ไทย ปี 2554

สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยโดยรวมปี 2554 สินค้าส่งออกหลักของ SMEs ปี2554
(มกราคม-พฤศจิกายน)
สัดส่วนการส่งออก
สินค้าหลักของ
SMEs ปี 2554
 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (-13.9%)  1. อัญมณีและเครื่องประดับ (9.72 % ) 13.24%
 2. รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (-8.8%)  2. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง (90.99 % ) 8.37%
 3. ยางพารา (59.3 %)  3. พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก (NA.) 8.34%
 4. อัญมณีและเครื่องประดับ (1.2%)  4. ผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ (NA.) 4.53%
 5. น้ำมันสำเร็จรูป (25.2%)  5. น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล (28.63% ) 4.41%
 6. เม็ดพลาสติก (32.4%)
 7. ผลิตภัณฑ์ยาง (24.4%)
 8. เคมีภัณฑ์ (37.0%)
 9. แผงวงจรไฟฟ้า (-6.7%)
 10. ข้าว (16.6%)

         ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และกระทรวงพาณิชย์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

จากตารางข้างต้นพบว่าสินค้าส่งออกหลักของ SMEs ไทยไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ประสบกับภาวะการส่งออกลดลงไปยังตลาดโลกโดยรวมในปี 2554 ที่ผ่านมา แต่กลับเป็นกลุ่มที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งยางและผลิตภัณฑ์ยางที่อัตราการเติบโตโดดเด่นกว่าการส่งออกโดยรวมของ ประเทศที่สำคัญ คือ การส่งออกของ SMEs ไทยในปีที่ผ่านมา ไม่ได้พึ่งพาการส่งออกสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นพิเศษ จะมีเพียงสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับที่มีสัดส่วนการส่งออกมาก ที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 13.245 ที่ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลของการปรับขึ้นของมูลค่าสินค้าตามทิศทางราคาวัตถุดิบ โดยสินค้าส่งออกหลักของผู้ประกอบการ SMEs นอกจากอัญมณีและ เครื่องประดับ ยังมีพลาสติกและของทำด้วยพลาสติก ยางและของทำด้วยยาง ซึ่งยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และมีมูลค่ารวมกันแล้วสูงกว่า 18,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ มูลค่าการส่งออกสินค้า 5 อันดับแรกของ SMEs ในปี 2554 ขยายตัวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายุโรปจะไม่ใช่ตลาดหลักของไทยและดูเหมือนว่าเราจะไม่ได้รับผลกระทบใน ทางตรงต่อการส่งออกไปยังยุโรปในระดับรุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับ SMEs ไทย คือ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าหรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตสินค้า ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงอันเนื่องมาจากผลกระทบของอุปสงค์ที่ชะลอตัว ในยุโรปและสหรัฐฯ ที่เป็นเหตุให้ประเทศที่นำเข้าสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางจากไทยเพื่อไปผลิตเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย และส่งออกต่อไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ต้องลดการสั่งซื้อสินค้าจาก ไทยตามไปด้วย โดยกลุ่มสินค้าที่หดตัวอย่างชัดเจนในทุกตลาดหลัก อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งสินค้าอาหารบางประเภท เป็นต้น

สำหรับธุรกิจบริการ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ยังคงมีโอกาสขยายตัวได้ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่าในปี 2554 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยมีจำนวน 19,098,323 คน เพิ่มขึ้น 3,161,923 คน หรือประมาณร้อยละ 19.8 โดยนักท่องเที่ยว 10 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลี อินเดีย สปป.ลาว ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ

กล่าวคือ วิกฤติหนี้ยุโรปจะส่งผลกระทบต่อ SMEs บางกลุ่มซึ่งเป็นผู้ผลิตหรืออยู่ในห่วงโซ่การผลิตสินค้าบางประเภทที่เกี่ยว โยงกับอุปสงค์ของตลาด ยุโรปทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่คาดว่าน่าจะยังต้องเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารจัดการและการประคับ ประคองธุรกิจอีกระยะหนึ่ง ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทยในช่วงที่ผ่านมาและยังจะส่งผลในระยะต่อไปในระดับที่น่าเป็นห่วงมากกกว่าวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป คือ ปัจจัย ภายในประเทศเอง ทั้งภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนด้านพลังงาน ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนลูกจ้างระดับปริญญาตรีที่กำลังปรับตัวสูง ขึ้นเป็น 300 บาท และ 15,000 บาท ตามลำดับ ประกอบกับปัญหาอุทกภัยในช่วง ที่ผ่านมาที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความเสียหายไม่ ต่ำกว่า 5 แสนราย และบางรายต้องปิดกิจการ หรือต้องลดต้นทุนด้วยการเลิกจ้างงาน จึงก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมเฉลี่ยแล้วประมาณ 71,156.42 ล้านบาทต่อเดือน และส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่ม SMEs ในไตรมาส 4/2554 หดตัวลงจากไตรมาส 3/2554 ร้อยละ 1.5 ขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ SMEs(GDP SMEs) ในปี 2554 อาจเหลือเพียงร้อยละ 1.8-2.06 จากเดิมที่เคยมีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0-4.2 ดังนั้น เมื่อปัญหาจากวิกฤติในยุโรปยังไม่อาจวางใจได้ ผนวกกับปัญหาจากปัจจัยภายในประเทศที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มีแนว โน้มว่า SMEs ภาคการผลิตและการส่งออกสินค้าจะยังเผชิญกับความไม่แน่นอนของผลประกอบการ บางกลุ่มต้องประสบกับภาวะผลประกอบการลดลง หรือบางรายอาจต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน หากยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าการส่งออกโดยรวมของ SMEs ไทยในปี 2555 ยังเติบโตในแดนบวก แม้อาจจะเป็นไปในอัตราที่ชะลอตัวลง เพราะตลาดส่งออกหลักอย่างตลาดเอเชียยังขยายตัวได้ โดยสินค้าที่ยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหารแปรรูปเพื่อสุขภาพ น้ำตาล ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ในขณะที่สินค้าแฟชั่น (เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ) สินค้าประมง รวมทั้งเหล็กและของที่ทำด้วยเหล็กต้องระวังเป็นพิเศษ

สำหรับธุรกิจบริการ คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะธุรกิจบริการอย่างการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ ประกอบกับการบริโภคในประเทศ เริ่มปรับตัวไปในทิศทางบวกมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 75.57 สูงสุดในรอบ 5 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นมา จึงมีแนวโน้มว่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ของภาคครัวเรือนจะกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นผลให้ธุรกิจจัดจำหน่าย และธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคครัวเรือนกลับมาขยายตัวได้มากขึ้นเช่น กัน

สรุปและข้อเสนอแนะ

แม้ว่าจะมีสัญญาณในทางบวกจากความพยายามแก้ปัญหาวิกฤติออกมาอย่างต่อ เนื่อง แต่ธนาคารโลกก็ได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรป เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาจากร้อยละ 1.8 เหลือเพียงร้อยละ -0.3 ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหลักอื่นๆ แล้วตลาดยุโรปเป็นเพียงแห่งเดียวที่จะยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม นอกจากวิกฤติดังกล่าวแล้ว ปัจจัยภายในประเทศอย่างต้นทุนที่สูงขึ้น และภัยธรรมชาติที่ทำให้สายการผลิตต้องสะดุดลงในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ SMEs ไทยมีผลประกอบการลดลง และผู้ประกอบการจำนวนมากต้องประสบกับภาวะยากลำบาก ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและเร็วที่สุด เพื่อลดระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ จะเกิดกับ SMEs ในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อให้ SMEs สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงประเด็นดังต่อไปนี้

• การเพิ่มความหลากหลายของตลาดส่งออกให้มากขึ้นมุ่งไปที่ตลาดที่ยังมีโอกาส ขยายตัว หรือตลาดที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนที่เกิดขึ้น ในสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดที่น่าสนใจ อาทิ ตลาดอาเซียน จีน อินเดีย รัสเซีย โดยเฉพาะตลาดอินเดียที่นับวันจะทวีบทบาทเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในตลาดอินเดีย อาทิ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง ผักและพืชประเภทถั่ว อาหารปรุงแต่ง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง และน้ำผลไม้ เป็นต้น

• การใช้สิทธิประโยชน์จากกรอบข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และกรอบความร่วมมืออื่นๆ ที่มีอยู่ จะช่วยให้ผู้ประกอบการด้านการส่งออกลดต้นทุน ทางด้านภาษีลงได้เป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันไทยได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศทั้ง จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี ซึ่งปัจจุบัน พบว่าการใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษียังไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA หรือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไทยได้รับจากประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ อย่างสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เป็นการทั่วไป (GSP) ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการยังขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ได้ติดตามความ คืบหน้าของข้อตกลงต่างๆ อย่างทันเหตุการณ์

• ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรืออยู่ในสายการผลิตสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัว ได้ เช่น ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ด พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ ข้าว และอาหารแปรรูป ควรเร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และบริหารจัดการต้นทุนในการผลิตให้เหมาะสม ตลอดจนการทำการตลาดสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆให้มากขึ้น โดยอาจเลือกใช้ช่องทางการตลาดและการขายสินค้ารูปแบบใหม่ที่อาจมีต้นทุนในการ บริหารจัดการต่ำลง เช่น การซื้อ-ขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ซึ่งกำลังขยายตัวในตลาดจีน เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้มีการสนับสนุนให้ธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาก ขึ้น ภายใต้โครงการ “ธุรกิจไทย Go Online ฟื้นฟู ก้าวไกล ปีใหม่ สดใส”

• ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรืออยู่ในสายการผลิตสินค้าที่ยังอยู่ในช่วงการ ส่งออกหดตัว อาจต้องหาช่องทางในการลดต้นทุนในการผลิต หรือใช้ โอกาสนี้ในการพัฒนาสินค้าประเภทใหม่ๆ ซึ่งอาจจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นในอนาคต

• SMEs ควรติดตามสถานการณ์ในยุโรป และผลกระทบที่จะตามมาอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์และเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ทันท่วงที

——————————————
1 สถิติปี 2553
2 ข้อมูลจาก International Enterprise (IE) Singapore
3 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปี 2554 อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 30.49 บาท
4 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปี 2553 อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย 1ดอลลาร์สหรัฐฯ = 31.73 บาท
5 สินค้าที่พึ่งพาการส่งออก หมายถึง สินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกตั้งแต่ ร้อยละ 15 ขึ้นไป
6 ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
7 จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Korea โมเดล สินค้าออกของเกาหลีใต้

เมื่อนึกถึงเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เราอาจนึกถึงละครซีรีส์ เสื้อผ้าแฟชั่นเกาหลี และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญชาติเกาหลีที่กำลังได้รับ ความนิยมในไทย แต่หากมองย้อนกลับไปในยุคทศวรรษ 1960 จะพบว่าเกาหลีใต้เป็นเพียงประเทศเกษตรกรรมที่ยากจน ด้วยระดับรายได้ประชาชาติ 87 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนในปี 2505 (ค.ศ.1962) เท่านั้น แต่ได้ก้าวกระโดดขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนในปี 2538 (ค.ศ.1995) หรือภายในเวลา 33 ปี ด้วยความน่าสนใจดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ศึกษาถึงพัฒนาการของความสำเร็จของเกาหลีใต้ และบทเรียนที่ธุรกิจ SMEs ไทยน่าจะสามารถนำมาปรับใช้ได้ ซึ่งพบว่ามีประเด็นสำคัญดังนี้

 ภาคอุตสาหกรรมเติบโตก้าวกระโดด … จากผู้รับเทคโนโลยี สู่ผู้พัฒนาเทคโนโลยี 

หัวใจสำคัญของพัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ คือ “การพัฒนาแบบย้อนรอย” ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (แชโบล) กล่าวคือ แทนที่จะเป็นการ “วิจัย – พัฒนา – วิศวกรรม” (Research – Development – Engineering) กลับเป็น “วิศวกรรม – พัฒนา – วิจัย” กล่าวคือ เกาหลีใต้เริ่มทำการผลิต (วิศวกรรม) โดยใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปของต่างชาติก่อน แล้วจึงพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีที่ได้รับมานั้น และสุดท้ายจึงทำการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเอง ด้วยวิธีการดังกล่าวนับเป็นทางลัดที่สำคัญของเกาหลีใต้ที่ทำให้สามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมได้ในเวลาอันสั้น จนก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชาติหนึ่งของโลกในปัจจุบัน โดยอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ เทคโนโลยี การผลิตจอภาพ (Display) ซึ่งใช้ในโทรทัศน์จอแบนและเครื่องมือสื่อสาร


ทั้งนี้ ลำพังเพียงการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปนั้นมิอาจทำให้เกาหลีใต้ผงาดขึ้นเป็นประเทศอุตสาหกรรมแนวหน้าของโลกได้เช่นปัจจุบัน แต่เส้นทางการ พัฒนาของเกาหลีใต้ยังประกอบไปด้วยอีกหลายปัจจัยที่คอยสนับสนุน อันได้แก่ ภาครัฐบาล ซึ่งมีบทบาทสูงโดยเฉพาะในยุค 1960 ต่อเนื่องถึงยุค 1970 ด้วยการสร้างแชโบล และให้การสนับสนุนแชโบลในหลายด้าน เช่น เงินอุดหนุนพิเศษ เพื่อให้แชโบลมีเงินทุนเพียงพอทั้งในการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อการประหยัดต่อขนาด และเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการวางนโยบายที่มีผลต่อการพัฒนาแชโบลในระยะต่อๆ มา เช่น การเพิ่มงบประมาณทางการศึกษาในทุกระดับชั้น ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานความรู้ที่แข็งแกร่งแก่ประชากรของประเทศ และได้กลายเป็นทรัพยากรอันมีค่าในระยะของการพัฒนาและการวิจัยเมื่อแชโบลต่างๆ ได้ก้าวผ่านระยะของการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูป นอกจากนั้น ยังได้กำหนดนโยบายมุ่งเน้นการส่งออก ซึ่งมีอิทธิพลต่อแชโบลต่างๆ โดยอาศัยเงื่อนไขด้านเงินอุดหนุน รวมถึงสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับแชโบล เพื่อให้แชโบลได้พยายามผลักดันการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในเวลาอันสั้น นอกจากนั้น อีกปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของเกาหลีใต้ ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยสงครามเกาหลีในปี 2493 – 2496 (ค.ศ. 1950-1953) ทำให้เกิดการหลอมรวมกันทางสังคมขึ้นจากการที่คนหนุ่มสาวต้องร่วมรับรู้ประสบการณ์สงครามร่วมกันเป็นเวลานาน และเมื่อสงครามสิ้นสุด เกาหลีใต้ก็สามารถแปรความเสียหายย่อยยับจากสงครามเกาหลี เป็นความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาประเทศ ซึ่งสอดรับกับนิสัยขยันขันแข็งและหมั่นแสวงหาความรู้ของคนเกาหลีใต้

 ฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง … ด้วยกระแสวัฒนธรรมเกาหลี 

เส้นทางการพัฒนาของเกาหลีใต้ต้องสะดุดลงอีกครั้งในปี 2540 (ค.ศ.1997) จากวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียที่กระทบต่อภาคการเงินของเกาหลีใต้ อย่างรุนแรงจนต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยภายหลังวิกฤต เกาหลีใต้ได้จัดตั้งองค์การวัฒนธรรมและสารัตถะเกาหลี (Korea Culture and Content Agency – KOCCA) ขึ้นในปี 2544 (ค.ศ.2001) เพื่อส่งเสริมให้วัฒนธรรมเกาหลีเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ มากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศ ได้โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนมากและสามารถสร้างอิทธิพลในต่างแดนได้โดยไม่ต้องเผชิญการต่อต้านด้านการเมืองการปกครอง โดยภารกิจของ KOCCA คือ การส่งเสริมให้เนื้อหาสาระความเป็น ชาติเกาหลี หรือ Korea Content สอดแทรกลงไปในสื่อบันเทิงต่าง ๆ ของเกาหลีที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ และดนตรี เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการสร้างและ พัฒนาบุคลากรให้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการผลิตสื่อต่างๆ รวมไปถึงการทำการตลาดและการผลักดันการส่งออกวัฒนธรรมควบคู่ไปด้วย ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในเอเชีย ดังเห็นได้จากความนิยมในภาพยนตร์ เพลง และละครเกาหลีที่แผ่ขยายไปทั่วเอเชีย

 ความสำเร็จของเกาหลีเป็นแบบอย่างการพัฒนา (Model) ของประเทศกำลังพัฒนา 

เมื่อมองย้อนไปถึงเส้นทางการพัฒนาของเกาหลีใต้ ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเกาหลี (ทศวรรษ 1960) จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ยุคต่างๆ ในการพัฒนาของเกาหลีใต้เป็นไปในลักษณะของการผสมผสานกันระหว่างกลยุทธ์หลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ยุคแรกที่เป็นการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูปด้านอุตสาหกรรมจากทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เพื่อเป็นการ “เรียนทางลัด” สู่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็เร่งลงทุนด้านการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาขั้นต่อไป ซึ่งได้ถูกนำออกมาใช้ในระยะที่สองซึ่งเป็นช่วงที่เทคโนโลยีสำเร็จรูปถูกใช้ จนเต็มศักยภาพ ทำให้เกิดการต้องเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีที่รับการถ่ายทอดมา โดยอาศัยพื้นฐานการศึกษาที่สั่งสมไว้1 หลังจากเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงเข้าสู่ระยะที่สาม คือการคิดค้น และพัฒนาขึ้นเอง ดังเช่นการที่บริษัทเกาหลีใต้บางบริษัทสามารถเป็นผู้นำของโลกในบางอุตสาหกรรมได้ เช่น โทรทัศน์จอแบน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ในระยะหลังๆ โดยเฉพาะหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 (ค.ศ.1997) เกาหลีใต้เริ่มพัฒนาจากการมุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรม สู่การเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ผสมผสานการตลาดมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ขณะเดียวกัน ก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างจริงจังอีกด้วย


จากแบบอย่างความสำเร็จของเกาหลีใต้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าว ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียหลายประเทศกำลังพยายามยึดเกาหลีใต้ เป็นต้นแบบการพัฒนาในแง่ของการส่งเสริมวัฒนธรรม เช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีความสนใจเป็นพิเศษจนกระทั่งมีการส่งข้าราชการไปดูงานในเกาหลีใต้หลายครั้ง ขณะเดียวกัน ในประเทศไทย ก็เริ่มมีการเติบโตของกลุ่มบรรษัทเอกชนขนาดใหญ่ในแบบของ “แชโบล” เช่นกัน

 ถอดบทเรียนที่อาจปรับใช้เพื่อการพัฒนาของธุรกิจ SMEs ในไทย 

1. ผู้ผลิตในเกาหลีใต้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับการใช้เทคโนโลยีสำเร็จรูป หากแต่มีความกระตือรือร้นที่จะก้าวสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ซึ่งผู้ ประกอบการ SMEs ไทยอาจเริ่มโดยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเป็นบางส่วน เช่น พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต OEM ที่เคยรับจ้างผลิตให้ประหยัดต้นทุนการผลิตมากขึ้น จากนั้นจึงพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเองต่อไป โดยในปัจจุบัน มีหลายหน่วยงานภาครัฐที่คอยสนับสนุน เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่เป็นระยะ นอกจากนั้น ในส่วนของเงินทุน ผู้ประกอบการมีหลายทางเลือก ทั้งสถาบันการเงินของเอกชนและรัฐบาล ซึ่งต่างก็มีการนำเสนอบริการทางการเงิน ควบคู่กับบริการให้คำปรึกษาทางการเงิน

2. ภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นความรู้ของแรงงานค่อนข้างมาก ซึ่งสะท้อนความสำคัญของการศึกษา ต่อการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในกรณีของผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจไม่สามารถลงทุนด้านการศึกษาของแรงงานได้ด้วยตนเอง (ซึ่งต่างจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่สามารถสร้างสถาบันอบรมเทคนิคเฉพาะทางได้) อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอาจส่งแรงงานเข้าร่วมการฝึกอบรมที่จัดโดยหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้า สถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ สถาบันไทย-เยอรมัน เป็นต้น ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีอยู่เป็นระยะๆ

3. ภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการทำการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตราสินค้า ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้มาก โดยปัจจุบัน มีตราสินค้าของเกาหลีใต้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2 รายที่อยู่ใน 100 อันดับแรกของโลก (จากการจัดอันดับมูลค่าเพิ่มตราสินค้าโดย Millward Brown ปี 2554) และยังมีตราสินค้ายานยนต์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งจากแบบอย่างดังกล่าว ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจนำเอาแนวคิดด้านตราสินค้ามาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนในส่วนที่อยู่นอกเหนือการผลิตตามคำสั่ง (OEM) เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

4. รัฐบาลเกาหลีใต้มีบทบาทมากในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้เติบโตแข็งแกร่งตราบจนปัจจุบัน

1) ในด้านการสนับสนุน รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนอย่างเต็มที่ในปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนา ที่ภาคเอกชนไม่สามารถจัดหามาได้ด้วยตนเอง เช่น จัดสรรเงินทุนสำหรับการพัฒนาและการวิจัยของ แชโบลในระยะเริ่มต้น หรือการลงทุนขยายการศึกษาทั่วประเทศเพื่อสร้างฐานความรู้ให้กับประชากรของประเทศ ซึ่งกลายเป็นแรงงานที่มีคุณภาพให้แก่แชโบลต่างๆ ในระยะถัดไป

2) ในด้านการสร้างแรงท้าทาย รัฐบาลเกาหลีใต้มีการสร้างเงื่อนไขที่ท้าทายให้แชโบลต้องเร่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยใช้เงื่อนไขจูงใจด้านเงินอุดหนุน หรืออาศัยสายสัมพันธ์ใกล้ชิดที่มีต่อกันในการกำหนดแนวทาง เช่น ในปี 2516 (ค.ศ.1973) รัฐบาลได้ให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีเสนอแผนการผลิตรถยนต์ต่อรัฐบาล โดยต้องเป็นรถยนต์ที่ออกแบบใหม่ ขนาดเครื่องยนต์ เล็กกว่า 1,500 ซีซี และใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ด้วยต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 50,000 คัน/ปี โดยจะต้องออกจำหน่ายภายในปี 2518 (ค.ศ.1975) ซึ่งในครั้งนั้นทำให้บริษัทหนึ่งเกิดการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี โดยสามารถเสนอแผนผลิตรถยนต์ที่กำลังการผลิต 80,000 คัน/ปี จากเดิมที่ในขณะ นั้นผลิตได้เพียง 5,436 คัน/ปีเท่านั้น2

เมื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ของ SMEs ไทย พบว่า ส่วนใหญ่รัฐบาลไทยยังมีบทบาทเป็นการช่วยเหลือด้านเงินทุน และมาตรการในยามเกิดปัญหาหรือวิกฤต เช่น ผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ผลกระทบจากอุทกภัย แต่มาตรการในการพัฒนา SMEs ให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีของตนเองยังมีน้อย ดังนั้น เพื่อเกื้อหนุนการเติบโตของธุรกิจ SMEs ไทยให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรมีบทบาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา สำหรับบทบาทเฉพาะหน้า นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มไม่สดใสนักจากผลกระทบของการชะลอตัวในเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังมีผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ซึ่งกระทบต่อสภาวะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs อย่างมาก โดยภาครัฐอาจช่วยเหลือในด้านเงินทุนเพื่อพัฒนา SMEs ด้วยการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สำหรับบทบาทในระยะยาว ควรสร้างแผนปฏิบัติการและผลักดันให้ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการอุดหนุนส่งเสริมในปัจจัยที่ SMEs ไม่สามารถลงทุนด้วยตนเองได้ เช่น ในด้านเงินกู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม การจัดตั้งสถาบันวิจัยที่สามารถทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพิงด้านเทคโนโลยีแก่ SMEs ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ และการลงทุนด้านการศึกษาของแรงงานในระดับประเทศ ขณะเดียวกันภาครัฐก็ควรสร้างแรงผลัก ดันให้ธุรกิจ SMEs เกิดการพัฒนาออกนอกกรอบความสำเร็จเดิมๆ เช่น การวางเป้าหมายการพัฒนาด้านนวัตกรรมเพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์เช่นด้านภาษีหรือเงินอุดหนุน เป็นต้น นอกจากนั้น ภาครัฐควรเร่งส่งเสริมธุรกิจ SMEs ทางเลือกที่ไทยมีศักยภาพ ที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมหลักที่ต่างชาติลงทุนในไทย เช่น พลังงานชีวภาพชีวมวล อุตสาหกรรมการเกษตร และ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยสร้างรากฐานด้านเทคโนโลยีแก่ธุรกิจ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับทรัพยากรที่ไทยมีและเพื่อเป็นการปรับตัวต่อแนวโน้มการกระจายฐานการผลิตของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมหลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เหล็กและโลหการที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไปด้วย

——————————————–
1 โดยตัวอย่างได้แก่การที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของเกาหลีใต้ได้สั่งให้วิศวกรถอดประกอบรถยนต์ต้นแบบเพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่รับถ่ายทอดมา
2 บัญชา ธนบุญสมบัติ. เกาหลีใต้ “ก้าวหน้า” และ “ก้าวพลาด” อย่างไร ในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม? นิตยสารสารคดี ปีที่ 15 ฉบับที่ 179 มกราคม 2543. 74-87

อินเตอร์แมค ประตูสุ่ความสำเร็จทุกภาคธุรกิจ

————————————

——————————————

——————————————-

  

INTERMACH 2012, SUBCON 2012, SHEET METAL ASIA 2012

  

 

 

แลงเซส เติบโตอย่างต่อเนื่อง : LANXESS continues on growth path

กำไรเบื้องต้น ของไตรมาส 1 อยู่ที่ 369 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด
ยอดขายของไตรมาส 1 อยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
กําไรสุทธิของไตรมาส 1 อยู่ที่ 193 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16
คาดการณ์สำหรับปี 2012: คาด กำไรเบื้องต้นทั้งปีการเงิน เติบโตร้อยละ 5-10 เมื่อเทียบกับปี 2011

แลงเซส (LANXESS) เริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2555 อย่างสดใส โดยบริษัทชั้นนำด้านเคมีภัณฑ์เฉพาะทางแห่งนี้มีกำไรเบื้องต้น ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ซึ่งขยับไปอยู่ที่ 369 ล้านยูโรในไตรมาสแรก

ยอดขายเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุดไปอยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ เป็นผลจากการขึ้นราคาสินค้าร้อยละ 9 ซึ่งชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้ทั้งหมด ส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 7 ส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้สถานการณ์ที่เป็นบวกนั้นส่งผลที่ดีต่อยอดขาย ขณะที่ปริมาณการขายลดลงร้อยละ 3 จากไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งมากในปีที่ผ่านมา

อัตราส่วนต่างรายได้ของกำไรเบื้องต้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 15.5 และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 193 ล้านยูโร

“ในแง่ของการเริ่มต้นที่ดีมากในปีนี้ แลงเซสคาดว่ากำไรเบื้องต้น จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ปีพ.ศ. 2555 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด” มร. เอ็กเซิล เซ ไฮท์มันน์ ประธานกรรมการบริหารของแลงเซส (LANXESS)  กล่าว “ความเชื่อมั่นของเราเกิดจากการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมและเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ซึ่งตอบสนองแนวโน้มธุรกิจของโลกและตลาดเกิดใหม่”

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cash flow) เพิ่มขึ้นเป็น 129 ล้านยูโรจาก 36 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2555 อยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านยูโร” ในทางปฏิบัติ ผลประกอบการดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงสุดท้ายของปี พ.ศ. 2554 แม้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (net working capital) จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับกิจกรรมทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้น” มร. เบียนฮาร์ด ดุตต์มันน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของแลงเซส กล่าว “การเติบโตที่ให้ผลกำไร ควบคู่กับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยังคงเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจของเรา”

ผลประกอบการแยกตามภูมิภาค

ตลาด EMEA อันได้แก่ ยุโรป (ไม่รวมเยอรมนี) ตะวันออกกลาง และอัฟริกา ยังคงเป็นภูมิภาคที่มียอดขายสูงสุดในไตรมาสแรก โดยครองสัดส่วนร้อยละ 29 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท ยอดขายในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ไปอยู่ที่ 699 ล้านยูโร โดยมีรัสเซียและโปแลนด์อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด

ยอดขายในเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ไปอยู่ที่ 416 ล้านยูโรในไตรมาสแรก และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท
ตลาดอเมริกาเหนือมีอัตราเติบโตของยอดขาย (top-line growth) สูงสุด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 423 ล้านยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
ละตินอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 301 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก เนื่องจากบริษัทมีฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งในบราซิล โดยยอดขายในภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 13 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 549 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่ม โดยมีจีนและไทยเป็นตลาดที่มีอัตราเติบโตของยอดขายสูงสุด
ยอดขายใน 5 ประเทศในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอัฟริกาใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 554 ล้านยูโร และคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่มในไตรมาสแรก

 ผลประกอบการแยกตามเซ็กเม้นท์

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ โพลิเมอร์ (Performance Polymers) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ไปอยู่ที่ 1.4 พันล้านยูโร เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและผลจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ด้านกำไรเบื้องต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 255 ล้านยูโร โดยธุรกิจ ยางสังเคราะห์ประสิทธิภาพสูง (High-Performance Synthetic Rubbers) และ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ของแลงเซสยังคงมีความต้องการสูงจากอุตสาหกรรมยางและยานยนต์ตามลำดับ

หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ชั้นนำด้าน พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยธุรกิจ ไฮ เพอร์ฟอร์มานส์ แมทธีเรียลส์ (High Performance Materials: HPM) โดยมีผลในทันที ชื่อใหม่นี้ให้ประโยชน์หลายด้านด้วยขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอให้แก่ลูกค้า ตัวอย่างหนึ่ง คือ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ที่ช่วยให้ชิ้นส่วนยานยนต์มีน้ำหนักเบาลงและส่งผลให้สามารถลดการใช้น้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยอดขายไตรมาสแรกในส่วนของผลิตภัณฑ์กลุ่ม สารที่เกิดระหว่างการผลิตขั้นสูง (Advanced Intermediates) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 429 ล้านยูโร ทั้งหน่วยธุรกิจ แอดวานซ์ อินดัสเรียล อินเตอร์มีเดียทส์ (Advanced Industrial Intermediates) และ ซัลติโก้ (Saltigo) ได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่สูงต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเคมีเกษตร ขณะที่รายได้ของกำไรเบื้องต้นลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 70 ล้านยูโร เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเคลือบและยา

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ เคมีภัณฑ์ (Performance Chemicals) ในช่วงไตรมาสแรกคงที่เมื่อเทียบกับปีล่าสุด โดยอยู่ที่ 558 ล้านยูโร อันเป็นผลจากการขึ้นราคาและการเข้าซื้อกิจการใหม่ๆ ที่มาช่วยชดเชยปริมาณการขายสินค้าที่ลดลง ขณะเดียวกันอัตรารายได้กำไรเบื้องต้น ได้ลดลงร้อยละ 8 ไปอยู่ที่ 83 ล้านยูโร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์

คาดการณ์ผลประกอบการ

“ด้วยการเริ่มต้นที่ดีในปีนี้ แลงเซสได้สร้างพื้นฐานที่ดีต่อไปในเส้นทางการเติบโตที่ประสบผลสำเร็จตามเป้าของเราในปี พ.ศ. 2555” มร. ไฮท์มันน์ กล่าว แลงเซสคาดว่า อัตรากำไรเบื้องต้นทั้งปี พ.ศ. 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 จาก 1,146 ล้านยูโรในปี พ.ศ. 2554

แลงเซสยังคงคาดหวังว่า ระดับของหนี้สาธารณะ (sovereign debt) ที่สูงในบางประเทศ ประกอบกับนโยบายการปรับลดการใช้จ่าย (austerity program) ที่ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดเสถียรภาพ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน น่าจะยังคงผันผวน ด้วยเหตุนี้ แลงเซสจะยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคา หรือ Price-Before-Volume Strategy ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีเช่นนี้ต่อไป

“นอกจากนี้ แลงเซสกำลังสานต่อการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ในสามเซ็กเม้นท์ และจะมุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดให้มากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมให้แก่ลูกค้า ยางสังเคราะห์และพลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) หรือ ไฮเทคพลาสติก จะมีบทบาทนำ โดยเฉพาะสำหรับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว (Green Mobility)” มร. ไฮท์มันน์ กล่าวสรุป

ตัวเลขสำคัญๆ ของไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2555

(หน่วยเป็นล้านยูโร อัตราเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ)

ไตรมาส 1 พ.ศ. 2554 ไตรมาส 1 พ.ศ. 2555 เปลี่ยนแปลง (%)
ยอดขาย 2,073 2,388 15.2
กำไรเบื้องต้น  322 369 14.6
สัดส่วนกำไรเบื้องต้น ต่อ รายได้ (%) 15.5 15.5
รายได้สุทธิ 166 193 16.3
กำไรต่อหุ้น  €2.00 €2.32 16.3 

———————

Q1 EBITDA pre EUR 369 million, up 15% yr-on-yr
Q1 sales EUR 2.4 billion, up 15%
Q1 net profit EUR 193 million, up 16%
Outlook 2012: FY EBITDA pre expected to grow 5-10% vs. 2011

LANXESS has made a promising start to the business year 2012. The specialty chemicals company increased EBITDA pre exceptionals by nearly 15 percent year-on-year to EUR 369 million in the first quarter.

Sales increased roughly 15 percent year-on-year to EUR 2.4 billion. This was mainly due to price increases of nine percent that fully offset rising raw material costs. Positive portfolio effects of seven percent were mainly attributed to the Keltan-EPDM-business acquired from DSM. In addition, positive currency effects of two percent supported sales. Volumes declined by three percent from the very strong first quarter a year earlier.

The EBITDA pre exceptionals margin remained unchanged at 15.5 percent and net profit increased by 16 percent year-on-year to EUR 193 million.

“In view of our very good start to the year, we expect EBITDA pre exceptionals to increase five to ten percent year-on-year in 2012,” said Axel C. Heitmann, LANXESS’ Chairman of the Board of Management. “Our confidence is based on our strategic focus on premium products and innovative technologies, which serve the megatrends and emerging markets.”

Operating cash flow rose to EUR 129 million from EUR 36 million a year ago. Net debt at the end of the first quarter 2012 was roughly EUR 1.5 billion. “It was thus practically unchanged from the end of 2011 despite increased net working capital needs in line with stronger business activity,” said Chief Financial Officer Bernhard Duettmann. “Profitable growth, coupled with a solid financial position, remains central to our business.”

Performance by region

EMEA (Europe excluding Germany, Middle East, Africa) remained the largest sales region in the first quarter, with 29 percent of overall Group sales. The region increased sales by nine percent to EUR 699 million. Russia and Poland were among the countries with the strongest growth rates.

Sales in Germany rose five percent to EUR 416 million in the first quarter and represented 17 percent of Group sales.

North America showed the strongest top-line growth, with sales up 29 percent year-on-year to EUR 423 million, representing 18 percent of Group sales.

Latin America increased sales by 23 percent year-on-year to EUR 301 million in the first quarter due to the company’s strong foothold in Brazil. The region represented 13 percent of Group sales.

Asia-Pacific increased sales by 19 percent year-on-year to EUR 549 million in the first quarter, representing 23 percent of Group sales. China and Thailand showed the strongest sales growth.

Sales in the five BRICS countries (Brazil, Russia, India, China, South Africa) rose 21 percent year-on-year to EUR 554 million and represented 23 percent of Group sales in the first quarter.

Performance by segment

Sales of the Performance Polymers segment rose 28 percent year-on-year to EUR 1.4 billion due to higher prices and a strong contribution from the Keltan-EPDM-business acquired in May 2011. EBITDA pre exceptionals also rose 28 percent year-on-year to EUR 255 million. LANXESS’ high-performance synthetic rubbers and high-tech plastics remained in high demand from the tire and automotive industries respectively.

The business unit Semi-Crystalline Products (SCP), one of the leading suppliers of high-tech plastics for the automotive and electronic industries, has been renamed High Performance Materials (HPM), with immediate effect. The new name reflects the numerous advantages provided by the business unit’s product portfolio to its customers. One example is high-tech plastics that lower the weight of automotive parts and thus reduce fuel consumption.

First-quarter sales in the Advanced Intermediates segment rose three percent year-on-year to EUR 429 million. Both Advanced Industrial Intermediates and Saltigo benefited from ongoing strong demand in the agrochemical industry. EBITDA pre exceptionals fell seven percent year-on-year to EUR 70 million due to weaker demand in the construction, coatings and pharmaceutical industries.

Sales of the Performance Chemicals segment were practically flat year-on-year in the first quarter at EUR 558 million, with price increases and contributions from newly-acquired businesses helping to offset volume declines. EBITDA pre exceptionals in the segment fell eight percent year-on-year to EUR 83 million mainly due to weaker demand in the construction and electronic industries.

Outlook 

“With the pleasing start to the year, we have created a good basis to continue on our successful growth path also in 2012,” said Heitmann. LANXESS expects for the full-year 2012 EBITDA pre exceptionals to rise by five to ten percent from EUR 1,146 million in 2011.

LANXESS still expects that the high levels of sovereign debt in some of the established countries, along with the austerity programs launched as a result, could detract from steady economic development. Currency exchange rates, as well as raw material and energy costs, will remain volatile. LANXESS will continue to stick to its proven price-before-volume strategy.

“Furthermore, LANXESS is bringing on stream new capacities in all three segments. We will also sharpen our focus on innovation and the latest technologies in order to develop premium products for our customers. Our synthetic rubbers and high-tech plastics will play a leading role especially in the “Green Mobility”,” added Heitmann.

Q1 2012 Key Data

(EUR million, changes in percent)

  Q1 2011 Q1 2012 Change
Sales  2,073 2,388 15.2
EBITDA pre exceptionals  322 369 14.6
EBITDA margin pre exceptionals (percent)

 

15.5 15.5  
Net income 

 

166 193 16.3
Earnings per share (EPS) €2.00 €2.32 16.3

LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,700 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements.

This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

…TTME NEWS

จัดประชุมการพัฒนาคุณภาพระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าแบบลดต้นทุน-เพิ่มกำไร : GIZ

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โปรแกรม “renewables – Made in Germany” ของกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(BMWi) ขอเชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมการประชุมเพื่อถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์จากประเทศเยอรมนี ด้านคุณภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟเข้าสู่สายส่ง (Grid connected PV systems) ที่ส่งผลต่อต้นทุน-กำไรของกิจการ พร้อมเรียนรู้วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ PV เพื่อนำมาปรับใช้กับตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ในวันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 นี้ เวลา 9.00-16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้สนใจกรุณาติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 081-680-1747 หรืออีเมล์cholada.khanthong@giz.de ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.thai-german-cooperation.info/download/renewable_solar_workshop.pdf รับจำนวนจำกัด

———————————————————————-

 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รวม 3 หน่วยงานด้านการพัฒนา ได้แก่ สำนักงานบริการด้านการพัฒนาของเยอรมัน (DED) สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และสำนักงานพัฒนาศักยภาพระหว่างประเทศ (InWEnt) เข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทยและเยอรมันดำเนินมาเป็นเวลา 55 ปีแล้ว โดย GIZ ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน            

The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH commenced operations at the beginning of 2011. The organisation brings together the long-standing expertise of the Deutscher Entwicklungsdienst (DED) gGmbH (German Development Service), the Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit (GTZ) GmbH (German Technical Cooperation) and InWEnt – Capacity Building International, Germany. German International Co-operation (GIZ) is fully owned by the German Federal Government. Looking back on 55 years of Thai-German Technical Cooperation, GIZ continues to support the German Government in achieving its objectives in international cooperation with Thailand promoting sustainable development, including international education.

….TTME NEWS

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม 2555 ยังสะท้อนการฟื้นตัว…แต่เริ่มชะลอลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2555 ยังคงสะท้อนทิศทางการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน ขณะที่ภาคการใช้จ่ายในประเทศเริ่มมีภาพของการชะลอตัวลง แม้ว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากกิจกรรมการซ่อมแซม-ฟื้นฟูที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐบาลก็ตาม ด้านการส่งออกกลับมาหดตัวอีกครั้งจากฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับภาวะการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกที่รุนแรงยิ่งขึ้นในกลุ่มสินค้าเกษตรกรรม และสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่กลับเข้าสู่ภาวะเสี่ยงทั้งสหรัฐฯ และยุโรป รวมทั้งจีน ที่เริ่มมีสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว

            ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
                 ยกเว้น ดัชนีการผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ใช้ตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ใช้ตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 

สรุปประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนมีนาคม 2555 และอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2555

ภาคเกษตรกรรมเดือนมีนาคม 2555 รายได้เกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ยังหดตัว โดยเมื่อเทียบกับปี ก่อน ดัชนีผลผลิตการเกษตรเดือนมีนาคม หดตัวร้อยละ 0.3 (YoY) จากผลผลิตข้าวที่แม้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน และยางพารา มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 8.4 (YoY) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคายางพาราที่ลดลงจากระดับที่สูงมากในปีก่อน เนื่องจากความต้องการยางพาราของจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักยังคงชะลอลง

ภาคอุตสาหกรรมยังคงมีทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ ตามแรงสนับสนุนจากกิจกรรมการฟื้นฟู-ซ่อมแซมสายการผลิตของบาง อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด เห็นได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนมีนาคมที่เพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 68.07 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ที่เหตุการณ์น้ำท่วมเริ่มส่ง ผลต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจนสูงกว่าช่วงก่อนเกิดอุทกภัยนี้ เป็นผลจากการเร่งกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ นั้น แม้จะมีความล่าช้าในการฟื้นตัว แต่ก็มีทิศทางการเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสำคัญจากผลกระทบของน้ำท่วม ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมหดตัวเพียงร้อยละ 3.2 (YoY) ใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยหมวดอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน สิ่งทอ และรองเท้า) หดตัวในอัตราที่น้อยลงมาที่ร้อยละ 13.5 (YoY) ดี ขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 18.3 (YoY) ในเดือนก่อน ขณะที่หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ (ได้แก่ เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง) ขยายตัวร้อยละ 7.2 (YoY)หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก (เช่น เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และรถจักรยานยนต์) ขยายตัวร้อยละ 10.5 (YoY)

สำหรับภาพรวมในไตรมาส 1/2555 การผลิตภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม สะท้อนให้เห็นทิศทางการฟื้นตัวของบางอุตสาหกรรมจากผลกระทบน้ำท่วมในช่วงปลายปีก่อนที่เร็วกว่าที่คาดแม้จะยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ผ่านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงเพียงร้อยละ 7.1 (YoY) ดีขึ้นมากจากที่หดตัวถึงร้อยละ 34.2 (YoY) ในไตรมาส 4/2554 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยที่เพิ่มมาอยู่ที่ร้อยละ 63.0 จากร้อยละ 46.3 ในไตรมาสก่อน ขณะที่ ดัชนีผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 (YoY) ตามปริมาณผลผลิตที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดี ราคาพืชผลที่ยังคงหดตัวร้อยละ 12.2 (YoY) จากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่สูงมากในปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกร หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 10.9 (YoY)

การบริโภคภาคเอกชนเดือนมีนาคม 2555 ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต และกำลังซื้อเพื่อตอบสนองความต้องการคงค้าง (Pent-up Demand) ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้ที่สำคัญหลายตัวมีอัตราการขยายตัวที่ชะลงจากเดือนก่อน ทั้งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 (YoY) และร้อยละ 4.3 (YoY) ตามลำดับ ชะลอจากร้อยละ 19.3 (YoY) และร้อยละ 15.3 (YoY) ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามลำดับ และ ปริมาณจำหน่ายยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 (YoY) ชะลอลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 (YoY) การชะลอตัวดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอลงมาที่ร้อยละ 3.7 (YoY) จากร้อยละ 6.6 (YoY) ในเดือนกุมภาพันธ์

      การลงทุนภาคเอกชนเดือนมีนาคม 2555 ก็มีทิศทางชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยแม้ว่าจะยังได้รับแรงบวกจากการเร่งลงทุนและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ การนำเข้าสินค้าทุน และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ก็ขยายตัวชะลอลงมาที่ร้อยละ 2.1 (YoY) ร้อยละ 4.0 (YoY) และร้อยละ 20.3 (YoY) ตามลำดับ จากที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) ร้อยละ 41.6 (YoY) และร้อยละ 30.2 (YoY) ตามลำดับ และถ่วงให้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.0 (YoY) ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 (YoY) ในเดือนกุมภาพันธ์

สำหรับความเชื่อมั่นภาคเอกชนยังคงปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกับทิศทางการขยายตัวของภาคการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 76.6 ระดับ 55.5 และระดับ 102.1 ในเดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นบรรยากาศการลงทุนและการจับจ่ายใช้สอย ที่ปรับตัวดีขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นลำดับ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเมษายน 2555 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 77.6 อย่างไรก็ดี ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ได้เริ่มสร้างความกังวลใจให้แก่ผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นจากระดับการปรับเพิ่มดัชนีคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง ส่วนภาคธุรกิจนั้น ความกังวลด้านต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นและภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังมีความเปราะบาง ได้สะท้อนผ่านดัชนีคาดการณ์ต้นทุนการผลิต และดัชนีคาดการณ์ยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดระดับลงเช่นกัน

      สำหรับภาพรวมในไตรมาสแรกของปี 2555 ภาคการใช้จ่ายในประเทศได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมเร่งฟื้นฟู-ซ่อมแซม และทดแทนส่วนที่เสียหายจากน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ จนสามารถพลิกกลับมาขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.1 (YoY) เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.2 (YoY) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.0 (YoY) จากที่หดตัวร้อยละ 3.7 (YoY) ในไตรมาสก่อน

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกเดือนมีนาคม มีมูลค่า 19, 661 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงร้อยละ 6.8 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากฐานมูลค่าการส่งออกที่สูงมากในปีก่อน ประกอบกับการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกในหมวดเกษตร และหมวดอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการ ผลิตอย่างเข้มข้น (เช่น สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม) ที่มีมูลค่าส่งออกหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ สามารถฟื้นกลับมา ส่งออกได้มากขึ้น สำหรับการนำเข้าในเดือนมีนาคม มีมูลค่า 21,062 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวถึงร้อยละ 21.5 (YoY) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเร่งนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อเพิ่มการสำรองน้ำมันดิบของประเทศ และโรงกลั่นบางแห่งต้องการเร่งการผลิตก่อนจะปิดซ่อมบำรุงในเดือนพฤษภาคม


การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติกาณ์นี้ ทำให้ไทยบันทึกดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1, 401 ล้านดอลลาร์ฯ และ 1,522 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ จากที่เกินดุล 2,052 ล้านดอลลาร์ฯ และ 1,092 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน ตามลำดับ

หากพิจารณาไตรมาสที่ 1/2555 พบว่า ไทยบันทึกดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล1,173 ล้านดอลลาร์ฯ และ 551 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ จากภาคการส่งออกที่มีมูลค่า 53,803 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวร้อยละ 4.0 (YoY) เป็นผลจากการหดตัวของสินค้าเกษตรกรรมที่ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ในตลาดโลก ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมนั้น แม้ยังอยู่ในภาวะหดตัว แต่ก็มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น ตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่สินค้าเกษตรยังคงหดตัวจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีความรุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 52,630 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 9.6 (YoY) ตามการนำเข้าน้ำมันดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุนที่เร่งตัวขึ้น ตามการบริโภคและการลงทุนในประเทศ

อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2555 ชะลอลงมากกว่าที่คาด จากฐานที่สูงในปีก่อนหน้าที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มสูงขึ้นมากจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันปาล์ม นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2555 ที่ชะลอลง ยังเป็นผลมาจากราคาอาหารสด เช่น เนื้อหมู-ไก่ สัตว์น้ำ และไข่ไก่ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากเร่งตัวขึ้นมากในช่วงวิกฤติอุทกภัย ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.47 (YoY) จากร้อยละ 3.45 (YoY) ในเดือนมีนาคม โดยสินค้าหมวดอาหาร และเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 (YoY) ชะลอลงจากร้อยละ 7.07 (YoY) ในเดือนก่อน ขณะที่สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 (YoY) และเมื่อหักสินค้าในกลุ่มอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13 (YoY) ชะลอจากร้อยละ 2.77 (YoY) ในเดือนมีนาคม

  


ค่าเงินบาทในประเทศ (Onshore) ณ สิ้นเดือนเมษายน 2555 ปิดตลาดที่ระดับ 30.74 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นจาก 30.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ณ สิ้น เดือนมีนาคม 2555 หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 1/2555 ต่ำกว่าที่คาด ทำให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงในวันทำการสุดท้าย หลังจากเคลื่อนไหวอย่างผันผวนตลอดทั้งเดือน เมษายน ตามปัจจัยที่ตลาดให้ความสำคัญ คือ กระแสการคาดการณ์ต่อโอกาสการเกิดมาตรการผ่อนคลายรอบใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และวิกฤติหนี้สาธารณะในยูโรโซน

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม 2555 ยังคงอยู่ในทิศทางการฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีก่อน สะท้อนผ่านการเร่งกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวในอัตราที่ลดลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาอัตราการขยายตัวของภาคการส่งออกซึ่งได้รับความกดดันทั้งด้านราคาและภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมทั้งฐานมูลค่าการส่งออกที่สูงมากในปีก่อน ทำให้ภาคการส่งออกพลิกกลับมาหดตัวอีกครั้ง ขณะที่ภาคการใช้จ่ายในประเทศเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว จากความกังวลด้านค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากภาวะที่ภาคการผลิตและการส่งออกของไทยยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ เมื่อผนวกกับภาพความอ่อนแรงของภาคการใช้จ่ายในประเทศในช่วงเดือน มีนาคม อาจส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2555 ลดต่ำลงกว่าที่ประเมินไว้ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงทำการปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการขยายตัว เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2555 ลงมาที่ร้อยละ 0.3 (YoY) น้อยกว่าประมาณการเดิมที่ร้อยละ 1.0 (YoY) อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองเดิมว่า ภาคการผลิต ภาคการส่งออก รวมทั้งเครื่องชี้เศรษฐกิจในภาคส่วนอื่นๆ น่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้อย่างพร้อมเพรียงกันในไตรมาส 2/2555 แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อการรักษาอัตราการขยายตัว ของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 อย่างใกล้ชิด ทั้งภาวะค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์เงินเฟ้อ ภัยธรรมชาติ และทิศทางเศรษฐกิจโลก สำหรับภาพรวมปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ร้อยละ 4.5-6.0 ไว้เช่นเดิม

ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พ.ศ. 2558

      ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เป็นธุรกิจบริการห้องพักให้เช่า ที่ผสมผสานระหว่างการบริการที่คล้ายโรงแรมและอพาร์ทเม้นท์ โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ ของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะเน้นกลุ่มนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ในระยะหลังธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ จะปรับแผนการดำเนินธุรกิจมาจับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าที่ต้องการพักระยะสั้นถึงระยะยาว

สำหรับภาพโดยรวมของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น ตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีจำนวนชาวต่างชาติเข้ามาทำงานเป็น จำนวนมาก และในกรุงเทพมหานครก็เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียของบริษัทต่างชาติรายใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จึงมีค่อนข้างสูง ซึ่งปกติการพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะตั้งอยู่ในทำเลที่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจที่มีชาวต่างชาติทำงานเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ การพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์มีการขยายตัวออกสู่นอกเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้าชานเมือง ที่ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่การพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในต่างจังหวัดก็จะอยู่ในจังหวัดที่มีกิจกรรมการลงทุนของต่างชาติที่สูง เช่นจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานต่างชาติตั้งกันเป็นจำนวนมาก เป็นต้น นอกจากนี้เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยังมีการพัฒนาที่พักในรูปแบบเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เช่นกัน

ทั้งนี้ จากการที่ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น ต้องพึ่งพิงการเข้ามาทำงานของนักธุรกิจต่างชาติเป็นสำคัญ (เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์) ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ก็จะมีผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย (กลุ่มนักท่องเที่ยวจัดเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญรอง ลงมาของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์) เห็นได้จากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2552 ที่ผ่านมา การเดินทางเข้ามาทำงานของชาวต่างชาตินั้นลดลง 27.8 เมื่อเทียบกับปี 2551 และได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในขณะนั้นค่อนข้างมาก

สำหรับสถานการณ์การเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติในไทยในปี 2554 ที่ผ่านมา แม้จะเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้ในยุโรปที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้บริษัทต่างๆ จึงยังระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจและแผนการขยายการลงทุนใหม่ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการขยายแผนการลงทุนในไทย ซึ่งมีผลทำให้จำนวนนักธุรกิจที่เดินทางเข้ามาในไทยยังคงไม่สูงนัก

อย่างไรก็ดี การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 (AEC) น่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เนื่องจากการเปิดการค้าเสรี จะทำให้เกิดการโยกย้ายกำลังแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเป้าหมายของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ นอกจากนี้การเปิดประชาคมชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สนใจเข้ามาขยายฐานการลงทุน หรือการตั้งสำนักงานใหญ่ (ระดับภูมิภาคเอเชีย) ในไทย ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทต่างชาติหลายแห่ง เลือกไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมองว่าประเทศไทยมีระบบสาธารณูปโภคที่เพรียบพร้อมทั้งระบบโทรคมนาคม และระบบการขนส่ง อีกทั้งเมื่อ เปรียบเทียบสภาพแวดล้อมในด้านอื่น เช่น กฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันของไทยยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

ขณะเดียวกันการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่น่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งก็น่าจะเปิดโอกาสในการทำธุรกิจในระยะข้างหน้า

ความสำคัญของ AEC ต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

     ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) ในปี 2558 ซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดหรือฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) หมายถึงว่า จะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีเสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน สามารถดำเนินกระบวนการผลิตในประเทศใดก็ได้ โดยใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และแรงงานจากหลายประเทศเพื่อนำมาใช้ผลิต การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะไปลงทุนประเทศที่เป็นสมาชิกได้เสรีมากขึ้น เช่นเดียวกับ ผู้ประกอบการประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้เช่นกัน โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งจะมีการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ ด้วยกัน

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศ 

สำหรับการเปิดการค้าเสรีที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ผู้ประกอบการพัฒนาเซอร์วิสควรต้องศึกษานั้น ได้แก่ 

 การเปิดการค้าเสรีในด้านบริการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ได้กำหนดพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกต้องเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งรวมถึงบริการอสังหาริมทรัพย์ โดยต้อง อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี พ.ศ. 2558 แต่ทั้งนี้ สมาชิกได้ตกลงร่วมกันว่าสามารถเลือกกิจกรรมภายใต้ CPC 8210 และ CPC 82201 เพียงอย่างละ 1 กิจกรรม มาผูกพันการเปิดตลาดก็ถือว่าบรรลุตามเป้าหมาย AEC Blueprint ในสาขา อสังหาริมทรัพย์แล้ว

โดยในส่วนของไทย ภายใต้ข้อผูกพันของ AFAS ไทยได้ผูกพัน 2 กิจกรรม คือ 1) บริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ ที่เป็นที่พักอาศัย (CPC 82101) และ 2) การจัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) โดยสัดส่วนหุ้นต่างชาติ ไม่เกินร้อยละ 49 และจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างชาติต้องน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด

สำหรับการเปิดบริการภาคอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ด้านนี้ เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น คาดว่า จะไม่ส่งผกระทบในด้านลบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ แต่น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่ผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะใช้ในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น โดยเฉพาะ นักธุรกิจจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเดินทางเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจในไทยมากขึ้น จากการเคลื่อนย้ายการลงทุน ดังนั้นการเข้ามาเพิ่มขึ้นของบริษัทนายหน้า หรือ Agency จากประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น จะเป็นช่องทางในการทำตลาด โปรโมทห้องพักในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทในลักษณะนี้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยบริษัทเหล่านี้จะมีความชำนาญในด้านการตลาดต่างประเทศ

รูปช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นภายใต้การเปิดการค้าเสรีภาคบริการอสังหาริมทรัพย์ 

 

 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ทั้งนี้เป้าหมายหนึ่งในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) โดยหาความร่วมมือที่จะสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนของแรงงานมีฝีมือ และอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานมีฝีมือที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่ม ประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ้น สำหรับแรงงานฝีมือที่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีนั้น มี 7 ประเภท ได้แก่ พยาบาล นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ นักบัญชี วิศวกร และสถาปนิก

ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือทั้ง 7 ประเภทนั้น นับว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เพราะแม้ว่าการเข้ารวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน หรือการประกอบกิจการหลายๆ ด้าน ได้อย่างเสรีก็ตาม แต่การที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยก็ยังมีข้อจำกัดจากกฎหมายภายในประเทศอย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น ทำให้ความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

สำหรับในส่วนของการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้ามาลงทุนพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในไทย ตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะให้เป็นฐานตลาดเดียวกัน คือ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งข้อตกลงที่น่าสนใจ คือ สมาชิกอาเซียนจะต้องเปิดให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถถือหุ้นได้ในธุรกิจบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 รวมทั้งยกเลิกข้อจำกัดในด้านอื่นๆ นั้น

อย่างไรก็ดี การที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาพัฒนาธุรกิจธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในไทยนั้น ยังคงมีข้อจำกัดเนื่องจากตามกฎหมายไทยยังไม่เปิดกว้างให้แก่ชาวต่างชาติในการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือครอง และซื้อขายที่ดิน โดยไทยได้ขอสงวนกฎหมายไว้เพื่อปฏิบัติระหว่างต่างชาติกับไทย คือ ประมวลกฎหมายที่ดิน (ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างด้าวไม่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นและถือหุ้นไม่ เกินกว่าร้อยละ 49 ของทุนทั้งหมด) และพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (การค้าที่ดิน เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ (บัญชี 1)) เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการที่นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้ามาพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยก็ตาม แต่ผู้ประกอบการ พัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอียังคงต้องติดตามประเด็นดังกล่าวนี้จากทางรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายในประเด็นของการให้ต่าง ชาติสามารถถือหุ้นได้ในธุรกิจบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ได้ในระยะข้างหน้า

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลต่อตลาดนอกประเทศ 

ทั้งนี้ในหลายๆ ประเทศ ยังไม่มีการเปิดภาคบริการในด้านอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนหลายๆ ประเทศ ก็มีกฎหมายที่จะปกป้องมิให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศ ซึ่งความสามารถในการเป็นเจ้าของที่ดินของชาวต่างชาติจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศที่เปิดบริการ ด้านนี้นอกจากไทยแล้วจะมีเพียงสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่มีข้อผูกพันบริการอสังหาริมทรัพย์ ส่วนอีก 7 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือยังไม่มีข้อผูกพันในสาขานี้ โดยสิงคโปร์ ผูกพันบริการจัดการสินทรัพย์ บนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมและสัญญา ทั้งสินทรัพย์ที่เป็นที่พักอาศัย และไม่ใช่ที่พักอาศัย (CPC 82201 + 82202) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ

ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผูกพันบริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ที่พักอาศัย (CPC 82101) และบริการ จัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) แต่การที่จะเข้าไปทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ภายใต้ข้อตกลงยังได้ถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์การลงทุนอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

จากการที่หลายๆ ประเทศยังไม่ได้เปิดให้สมาชิกอาเซียนเข้าไปพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอี ที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศสมาชิกอาเซียน ยังคงต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นๆ เช่น การลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมาเลเซีย บริษัทจะต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวมาเลเซียอย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้ถือหุ้นในบริษัท เป็นต้น

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลทางอ้อมต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้เป้าหมายหนึ่ง คือ ไม่มีอุปสรรคทางด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีนั้น ทำให้ประเทศในอาเซียน กลายเป็นที่สนใจของบริษัทต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกในอาเซียน ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน หรือตั้งฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศ สมาชิกอาเซียนด้วยกัน จะทำให้ในระยะข้างหน้าจะมีจำนวนชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ของไทยในระยะข้างหน้า เช่นกัน

ภาวะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

     สำหรับภาวะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ขณะนี้มีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อผู้ประกอบการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์หลายรายรวมถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความชำนาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยรายใหญ่ก็ได้หันมาพัฒนาลงทุนในธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ทำให้มีจำนวนห้องชุดออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญการแข่งขันระหว่างธุรกิจเองแล้ว ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ยังต้องผจญการแข่งขันกับธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจับลูกค้ากลุ่มชาวต่างชาติ รวมทั้งตลาดห้องชุดคอนโดมิเนียมให้เช่า ที่มีจำนวนห้องชุดคอนโดมิเนียมที่ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์ต้อง การปล่อยให้เช่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวในทำเลที่มีชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องชุดคอนโดมิเนียมได้กลายมาเป็นคู่แข่งทางอ้อมที่สำคัญต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

      สำหรับภาพรวมของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานครในปี 2554 ที่ผ่านมา (ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานครเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.5 ของชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ) การเข้าพักอาศัยในเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้นปรับตัวสูงขึ้น จากผลสำรวจของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด พบว่า โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา อัตราการเข้าพักเติบโตประมาณร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่จำนวนห้องพักในปี 2554 ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ประมาณ 18,762 หน่วย โดยในปี 2554 มีจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเข้าสู่ตลาด 300 หน่วย

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ชะลอตัวลงนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ในตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ยังอ่อนตัวอยู่ เนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความกดดันจากปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศยุโรป ทำให้การขยายการลงทุนของบริษัทต่างชาติยังคงอยู่ในขอบเขตจำกัด ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่ออัตราการเข้าพักและอัตราค่าเช่ายังคงปรับตัวในระดับที่ไม่สูงนัก

สำหรับแนวโน้มของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อเสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จะยังคงกดดันบรรยากาศการลงทุน อีกทั้งปัญหาวิกฤติมหาอุทกภัยในไทยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลต่อการการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงติดตามความคืบหน้าในแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากในปี 2555 นี้ เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีกครั้งก็อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติได้

อย่างไรก็ดี จำนวนนักธุรกิจต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในไทยในปี 2555 นี้ น่าจะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเข้าใกล้การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจ มีการโยกย้ายฐานการลงทุนมายังประเทศ ไทยเพิ่มขึ้น

เห็นได้จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI รายงานแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) พบว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมา มีบริษัทต่างชาติขอรับการส่งเสริมการลงทุน 1,059 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เม็ดเงินลงทุน 396,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งหากการขอการส่งเสริมการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัว จะส่งผลดีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในระยะข้างหน้าเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มของนักท่องเที่ยวในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 19.2 – 20.2 ล้านคน หรือหดตัวประมาณร้อยละ 0.2 ถึงเติบโตร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ผ่านมา ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.23 ล้านคน แม้ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก ของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ก็ตาม แต่ก็เป็นกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 มีประเด็นที่ผู้ประกอบการคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ

♠ กฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานคร สำหรับประเด็นการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับ ใหม่ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในปี 2555 นี้ น่าจะเป็นในส่วนของข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ในย่านธุรกิจ เช่น ในเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค(บางส่วน) สายไหม คลองสามวา(บางส่วน) มีนบุรี(บางส่วน) สะพานสูง(บางส่วน) หนองจอก(บางส่วน) ได้เปลี่ยนแปลงความสูงในการสร้างอาคารจากเดิมคือ ไม่เกิน 23 เมตร เปลี่ยนเป็น 12 เมตร ส่วนทาง ด้านในเขตตัวเมืองนั้น ต่อไปนี้ห้ามสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เกินกว่า 2,000 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่วังทองหลาง ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางเขน และบางเขตอื่นๆ ร่างผังเมืองได้กำหนดให้สามารถก่อสร้างอาคารขนาด 2,000-4,999 ตารางเมตร และต้องตั้งอยู่บนถนนที่มีเขตทางเกินกว่า 16 เมตร จากที่ปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 10 เมตร ส่วนอาคารขนาดใหญ่กว่านี้ห้ามสร้าง

อย่างไรก็ดี กฎเกณฑ์ของกฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ก็อาจส่งผลดีต่อเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ตั้งอยู่ในทำเลดังกล่าว โดยเฉพาะเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ในย่านธุรกิจตามซอยต่างๆ ให้มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า เนื่องจากการเข้ามาใหม่ของอุปทานห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะลดลง โดยเฉพาะการควบคุมการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ถนนความกว้างขนาดไม่ถึง 16 เมตร

♠ ประเด็นเรื่องของการเปิดให้บริการของเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ที่ให้บริการแบบเดียวกับโรงแรม ทั้งนี้ในปัจจุบัน ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ สามารถเปิดให้บริการห้องพักที่คล้ายกับโรงแรม คือ การเปิดให้บริการห้องพักทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้โดยไม่ได้ถูกจำกัดหรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. โรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้ขณะนี้ เริ่มมีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากภาวะการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมเองที่รุนแรงอยู่แล้ว และยังต้องแข่งขันกับธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ทำให้ในระยะข้างหน้าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ให้เข้มงวดขึ้น

บทสรุป

ปัจจุบัน ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น จากเดิมที่เคยจับกลุ่มลูกค้าเฉพาะนักธุรกิจต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทยก็ต้องขยับขยายฐานลูกค้ามายังกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งการแข่งขันนั้นมาจากทั้งคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจใกล้เคียงอย่างห้องชุดคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ที่พัฒนาเพื่อชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2554 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตทั้งในด้านของอัตราการเข้าพ้กที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากจำนวนนักธุรกิจที่เข้ามาทำงานในไทยยังไม่ฟื้นตัวดีเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2552 โดยอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 85.0 ของ จำนวนอุปทานห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่มีอยู่ในตลาด ขณะที่อุปทานห้องพักสร้างเสร็จในตลาดมีปริมาณที่ชะลอลง ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อความสมดุลของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

ขณะที่แนวโน้มของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 นี้ คาดว่า อัตราการเข้าพักน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-6.5 เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าอัตราการเข้าพักจะอยู่ที่ร้อยละ 5.0 สำหรับปริมาณห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่จะเข้าสู่ตลาดในปี 2555 นี้ คาดว่าจะยังอยู่ในระดับประมาณ 19,500 หน่วย เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ มีจำนวน 18,762 หน่วย

สำหรับประเด็นการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอี เพื่อรองรับการแข่งขันเมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น ในด้านหนึ่งน่าจะเป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะจำนวนนักธุรกิจชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเข้าพักที่สูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดบริการเสรีด้านอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของการบริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ ที่เป็นที่พักอาศัย (CPC 82101) และ 2) การจัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) น่าจะเป็นช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

ขณะที่การเข้าไปลงทุนพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากการเปิดบริการในภาคอสังหาริมทรัพย์ยัง คงถูกจำกัดในหลายๆประเทศ ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการเข้าไปพัฒนาอาจต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เอง คงจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพและการให้บริการของตนให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้สร้างความประทับใจ ให้กับลูกค้าที่มาเข้าพัก และใช้จุดนี้ในการพัฒนาและเสริมสร้างแบร์ดเนมของตนเองให้เป็นที่ติดปากของแขกที่มาพัก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการตลาดของผู้ประกอบการเองด้วยเช่นกัน
—————————————————————————-

1 รหัสภายใต้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 8210 คือ บริการอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ (Real Estate Services Involving Own or leased Property: CPC 8210) และรหัสภายใต้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 8220 คือ บริการอสังหาริมทรัพย์บนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (Real Estate Services on a Free or Contact Basis: COC 8220)